วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เล่าเรื่องขายตรงเรือนเคียง-สบายดีประเทศลาว

สบายดี (สวัสดี).......
    วันนี้ขอทักทายทำนองเดียวกับพี่น้องสปป.ลาว และถือว่าเราร่วมแบ่งปันความรู้กันครับกับการบอกเล่าประสบการณ์ตรงที่ได้ไปๆมาๆทำงานขายตรงในสปป.ลาว
    ครั้งแรกที่เข้าไป ยอมรับครับว่ายังไม่รู้อะไรมากมาย เรามองแต่เพียงว่า ประเทศลาวเป็นประเทศสงบๆประเทศหนึ่งที่ยังมีประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่ใกล้เคียงกับภาคอีสานบ้านเรา ซึ่งตัวผมเองก็ค่อนข้างได้เปรียบและสบายใจมาก เพราะตัวผมเองก็เป็นลูกอีสาน เพราะฉะนั้นเรื่องภาษาไม่เป็นปัญหาเวลาเข้าประเทศลาว
     พูดถึงว่าให้เลือกประเทศในอาเซียนเพื่อที่จะเปิดตลาดขายตรงอาเซียนประเทศแลกที่ต้องมองก่อนหลายท่านน่าจะมองไปที่ สปป.ลาว ประเด็นสำคัญ คือ เรื่องภาษานี่ละครับ พูดง่ายๆว่ายังพอคุยกันรู้เรื่อง ถ้าไปเริ่มต้นที่เวียดนามหรือกัมพูชาคงต้องคุยกันจยเมื่อยมือแน่นอนครับ
    ผมประทับใจพี่น้องสปป.ลาวหลายๆอย่างครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำใจ ความจริงใจ และความมุ่งมั่น โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาตนเอง ช่วงแรกๆที่เข้าไปทำขายตรงที่สปป.ลาว จะมีกลุ่มนักศึกษาเข้ามาเยอะมาก กลางวันเรียน เย็นทำงาน ว่างๆยังมาทำขายตรง  มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ส่งตัวเองเรียนและยังสามารถนำไปใช้จ่ายในครอบครัวได้อีก บางคนถึงกับนำเงินไปสร้างบ้านเลยทีเดียว ตรงนี้ผมขอชื่นชมอย่างจริงใจ
ภาพจาก  http://vientiane.thaiembassy.org/vientiane
/th/about/about_basic/index.php
    มีความประทับใจอย่างหนึ่งที่ผมพูดถึงเสมอ คือ เรื่องของการพัฒนาตนเองโดยเฉพาะการเข้าคอร์สฝึกอบรม ทุกครั้งที่บริษัทจัดฝึกอบรมผมจะเห็นคนลาวเยอะมาก ถ้าจัดที่ลาวขั้นต่ำก็ 100 ท่านกว่าๆ บางครั้งจัดที่ประเทศไทยไกลแสนไกลเขายังมีกระจิตกระใจข้ามน้ำข้ามทะเลมาร่ำเรียนเพื่อความสำเร็จ ในขณะที่เรียนก็ตั้งใจเต็มที่แบบไม่มีใครแอบหลับ สุดยอดจริงๆครับ
   ประชากรในสปป.ลาว มีประมาณ 7 ล้านกว่าคน เทียบกับไทยถือว่าน้อยกว่าเยอะ เป็นสังคมที่ยังอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีดั่งเดิมไว้ดีมากๆ และยังเป็นสังคมที่มีครอบครัวใหญ่ที่ยังเหนียวแน่น การตลาดแบบปากต่อปากจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากที่สปป.ลาว ผมจึงไม่แปลกใจว่าทำไมขายตรงถึงบูมได้เร็วมากที่สปป.ลาว
    แต่มีเรื่องเล่าอย่างหนึ่งที่คนไทยบางคนโดยเฉพาะแม่ทีมไปทำไม่ดีไว้ เช่น หลอกขายสินค้า,หลอกให้สมัครสมาชิก ลงเงินเยอะๆแล้วจะตอบแทนกลับเยอะ จนคนลาวบางคนมองขายตรงที่ไปจากเมืองไทยในแง่ไม่ดี เข้าทำนอง "ปลาเน่าตัวเดียว เหม็นทั้งข้อง" ช่วงแรกๆที่เข้าลาวก็ต้องอธิบายประเด็นนี้ยาวนานพอสมควร
    การเข้าไปทำขายตรงที่ลาวสิ่งสำคัญ คือ บริษัทต้องมีความจริงจัง จริงใจ เรื่องกฎหมายสำคัญ การขออย. การนำเข้าและเสียภาษีต้องให้ถูกต้องทุกอย่าง  ไม่ใช่การปล่อยให้แม่ทีมไปทำกันเองโดยไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ จนกลายเป็นเรื่องความเสียหายของวงการขายตรง
   หากเราอยากได้ความจริงใจกับใคร เราก็ควรจะต้องให้เขาก่อน ไม่ว่าพี่น้องสปป.ลาว หรือประเทศใดๆ เขาย่อมต้องการความจริงใจในการทำธุรกิจร่วมกันทั้งนั้น
   ท่านว่าจริงไม ?
   สบายดี

เขียนโดย
ภาสกร  ผุยพงษ์

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สิ่งที่น่าสนใจระหว่างธุรกิจขายตรงกับประเทศพม่า

ภาพจาก  www.oknation.net/blog/print.php?id=724067
     ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนไป วาระต่างๆแปรเปลี่ยนไปตามเวลา อะไรที่ยังคงเดิมก็ยากที่จะยืนอยู่อย่างมั่นคง
     กระแสของประชาคมอาเซียนหรือ AEC ถูกพูดถึงในวงกว้าง แทบทุกวงการหนีไม่พ้นเรื่องนี้ ประเทศต่างๆในอาเซียนต่างตื่นตัวไม่เว้นแม้แต่บางประเทศที่เคยถูกคว่ำบาตรจากอเมริกาและยุโรปหรือเคยปิดประเทศอย่างพม่าก็เกิดการปรับตัวไปในทิศทางที่ดี จนเป็นที่น่าสนใจต่อนักลงทุนและนักธุรกิจที่จะเข้าไปขยายธุรกิจในพม่า
จนมีคำกล่าวในวงการสื่อว่า "พม่ากำลังเนื้อหอม"
   มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพม่าที่เกี่ยวข้องกับการทำขายตรงอาเซียนมานำเสนอทุกๆท่านเผื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจไปขยายธุรกิจที่พม่า ดังนี้
   - กฎหมายด้านการลงทุนของพม่าเริ่มชัดเจนขึ้น โดยข้อมูลยืนยันคือ คำกล่าวปราศรัยเกี่ยวกับแผนพัฒนาแห่งชาติ 5 ปีนับจากปี 2011-2012 โดยวางศูนย์กลางการพัฒนาอยู่ที่เศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการค้าและการลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนด้านเทคโนโลยี
  - กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือสหพัฒน์ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการลงทุนในพม่าได้น่าสนใจ โดยสรุป คือ กฎหมายด้านการลงทุนที่ชัดเจนขึ้น จะดึงการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในพม่าได้มากขึ้น และในส่วนของการดึงคนระดับท้องถิ่นมาเป็นคู่ค้า ธุรกิจขายตรงในพม่า จะเป็นเครื่องมือที่ดีอย่างหนึ่ง ซึ่งสินค้าที่คนพม่านิยมกันจะอยู่ในหมวดหมู่เครื่องอุปโภค บริโภค รวมถึงความงาม
 - จุดเด่นของประเทศพม่าที่กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจของอาเวยน คือ
      @ พม่ามีพื้นที่ติดกับอินเดียและจีนและที่สำคัญคือชายแดนพม่าติดกับชายแดนประเทศไทยรวมแล้วนับ 10 จังหวัด ซึ่งเป็นความได้เปรียบเชิงภูิมศาสตร์ที่จะขยายเศรษฐกิจให้กว้างออกไป
     @ แหล่งทรัพยากรของพม่ายังมีมากและยังไม่ถูกนำมาใช้ เช่น ป่าไม้/ก๊าซธรรมชาติ
     @ ประชากรพม่ามีใกล้เคียงกับไทยคือ ประมาณ 60 ล้านคนมีแรงงานกว่า 30 ล้านคนซึ่งเป็นแรงงานคุณภาพดีและราคาถูก
    @ อัตรการแลกเปลี่ยนเงินของพม่าเมื่อก่อนเป็นแบบหลายอัตรา 6 จ๊าด =  1 US$ แต่พอปรับเปลี่ยนเป็นระบบลอยตัว อัตราจะเป็น 800 จ๊าด = 1 US$ นับว่ามีความยืดหยุ่นสูง
 -  เรื่องน่ารู้เกี่ยกับผู้บริโภคพม่า
    @ ผู้บริโภคพม่ามีความฉลาด เรียนรู้ไว รักในศักดิ์ศรีตนเองอย่างมาก แถมยังมีความกระตือรือร้นสูงเพราะอยู่ใต้การปกครองแบบทหาร
   @ ผู้บริโภคมี 2 ประเภท คือ คนรวย เป็นส่วนน้อยของประเทศ มีกำลังมากพอที่จะซื้อสินค้าแบรนด์แนม หรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องสำอาง ซึ่งสามารถซื้อได้มากกว่าคนรวยในประเทศไทย อีกประเภทหนึ่งคือคนจน เป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศ หาเช้า กินค่ำ ประหยัดค่าใช้จ่ายมาก ทานข้าวเป็นหลักและทานเยอะมาก (ทานลักษณะพูนจาน) กับข้าว 1 ถุงทานได้ 2 มื้อ
    @ อาหารหลักต้องมีส่วนประกอบด้วย "น้ำมันพืช" หากไม่มีอะไรจะทานจริงๆจะใช้น้ำมันพืชคลุกข้าวแล้วโรยด้วยผงชูรส
     @ ส่วนใหญ่ประชากรพม่าชอบเคี้ยวหมาก
     @ มักห่อข้าวใส่ปิ่นโตไปรับประทานที่ทำงาน
     @ คนพม่ามีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าไทย มองสินค้าไทยเป็นสินค้าเกรดอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ผงชูรสจากเมืองไทย มักถูกจัดวางไว้บนชั้นวางเฉพาะ คนที่ต้องการและทราบจริงๆจึงจะถามหา บวกกับอิทธิพลจากคนที่ทำงานในเมืองไทยและกลับไปบอกต่อที่บ้าน รวมถึงสื่อโทรทัศน์จากเมืองไทย จึงทำให้คนพม่ามองสินค้าไทยในแง่ดีมากๆ ถึงแม้ว่าสินค้าไทยจะแพงกว่าสินค้าพม่า 0..5-1 เท่า คนพม่าก็ยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อสินค้าไทย
     นี้คือข้อมูลที่ผมรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ผมหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำขายตรงอาเซียน ในประเทศพม่าได้เป็นอย่างดี
    อย่าลืมนะครับว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะ 100 ครั้ง
    มีข้อมูลดีๆแบ่งปันกันได้ครับ

 รวบรวม/เรียบเรียงโดย ภาสกร  ผุยพงษ์(โทนี่)

ขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆจาก
- www.nationchanel.com
- thai.cri.cn
-e-jounal.dip.go.th
- บทความจาก กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พค. 55 โดยดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธุรกิจการค้าขายตรงในตลาดเวียดนาม




ธุรกิจการค้าขายตรงในตลาดเวียดนาม

ดร.ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ กรุงเทพมหานคร
เมื่อปี2548รัฐบาลเวียดนามได้ออกกฎหมายDecree on Administration of Multi-Level Selling Activitiesเพื่อควบคุมธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะ โดยกฎหมายฉบับนี้มีข้อกำหนดที่สำคัญเกี่ยวกับประเภทสินค้าที่จะนำมาทำธุรกิจเครือข่ายสัญชาติของผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกการจำหน่ายสินค้าให้แก่สมาชิกบางประเภท ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้ตั้ง
หน่วยงานเฉพาะขึ้นมากำกับดูแลธุรกิจนี้อีกด้วย มีชื่อว่าสำนักงานการแข่งขันทางการค้าเวียดนาม (VietnamCompetition Authority) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของก ระทรวงพาณิชย์ทำให้ ธุรกิจขายตรงในเวียดนามเป็นธุรกิจที่ถูกกฎหมาย มีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากรัฐบาลทำให้ธุรกิจได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถยกระดับภาพพจน์ของธุรกิจไปสู่ระดับสากล
             ตั้งแต่เริ่มมีธุรกิจขายตรงในเวียดนามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการด้านธุรกิจขายตรงทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับอนุญาตและขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจเครือข่ายในเวียดนามประมาณ 40 รายเท่านั้น โดยรูปแบบทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตมีแตกต่างกันไป ที่สำคัญได้แก่
             1.การได้รับสิทธิ์ในการทำธุรกิจ(License) เป็นการที่มีการจัดตั้งบริษัทท้องถิ่นขึ้น และรับสิทธิอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจขายตรงจากผู้ประกอบการในต่างประเทศ อาทิForever Living, Oriflame,Tahitian Noni,Agel ฯลฯ
             2. การร่วมลงทุน (Joint–venture) เป็นการที่ผู้ประกอบการท้องถิ่นร่วมกับผู้ประกอบการไทยที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการดำเนินธุรกิจขายตรงในเวียดนาม เช่น Mistine จากประเทศไทย
             3. การลงทุนทางตรง (Foreign direct investment)เป็นการที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศมีการลงทุนสร้างโรงงานและได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจขายตรงได้ในเวียดนามเช่น Avon,Amway
             4.        การเปิดธุรกิจเพื่อการพาณิชย์ของต่างชาติ(Foreign wholly-owned trading company) เป็น
การที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ยื่นขออนุญาตเปิดสำนักงานเพื่อการขายตรงเป็นการเฉพาะต่อกระทรวงพาณิชย์ โดยรัฐบาลเวียดนามได้อนุญาตให้มีการดำเนินการในรูปแบบนี้ตั้งแต่วันที่1มกราคม2552 เป็นต้นมา (ตามพันธะผูกพันที่มีต่อ WTOโดย Herbalife เป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุญาตในปี2552 และล่าสุดเมื่อปลายปีที่ผ่านมา Sophie จากประเทศอินโดนีเซียก็ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินธุรกิจขายตรงในรูปแบบนี้ด้วยเช่นกัน
             ผู้ประกอบการในธุรกิจขายตรงในเวียดนามได้มีการรวมกลุ่มสมาชิกกันขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจเครือข่ายในประเทศปัจจุบันมีการจัดตั้งเป็นสมาคมขึ้น 2 แห่งที่สำคัญได้แก่ ชมรมผู้ประกอบธุรกิจขายตรงแอมแชมแห่งเวียดนาม (Amcham Vietnam Direct Selling Committee)เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการขายตรงจากต่างประเทศก่อตั้งในปี2551 โดยการริเริ่มของสภาหอการค้าแห่งอเมริกาในเวียดนาม(American Chamber of Commerce in Vietnam) และสมาคมการตลาดขายตรงหลายชั้นเวียดนาม (Vietnam Multi-levelMarketing Association) ที่จัดตั้งในปี2552 เป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงท้องถิ่นในประเทศเป็นหลักโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางของบริษัทสมาชิกในการให้ข้อมูลธุรกิจขายตรงที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจสร้างเอกภาพและพลังในการเคลื่อนไหวในการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐในประเด็นปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของธุรกิจขายตรงในเวียดนาม

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นักธุรกิจขายตรงจัดตัวเองให้หนักรับอาเซียน

     โอลิมปิกเพิ่งจบไปหมาดๆ สิ่งที่มองเห็นและสุดประทับใจ คือ การเตรียมตัวของทัพนักกีฬาไทยที่บางคนใช้เวลานับสิบปี เพื่อขึ้นเวทีหรือลงสนามแข่งขันเพียงไม่กี่นาที แม้ว่าจะได้หรือไม่ได้เหรียญโอลิมปิกแต่ก็ขอชื่นชมในความมุ่งมั่นและตั้งใจ นั้ยิ่งกว่าเหรียญทองอีกสิบเหรียญครับ ขอปรบมือให้ แป๊ะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    มองย้อนมายังขายตรงอาเซียน มองให้แคบไปกว่านั้น คือ นักธุรกิจขายตรงอาเซียนแบบเราๆท่านๆ (ต่อไปนี้ใครยังมองแค่นักธุรกิจขายตรงแบบไทยๆ เปลี่ยนใหม่ครับยกระดับกันตั้งแต่วันนี้ ไม่ต้องรอ 3 ปีข้างหน้า) ย่อมจะต้องมองตั้งแต่วันนี้ว่า อีก 3 ปีข้างหน้าเราจะไปยืนอยู่ตรงตำแหน่งไหนของภูมิภาคนี้น้าาาาา  เริ่มตั้งคำถามกับตัวเอง ณ บัดนี้ กับ 3 คำถามครับ
    1. เราอยู่ ณ จุดไหนของขายตรงอาเซียนในปัจจุบัน
    2. เรากำลังจะไปอยู่ ณ จุดใดของขายตรงอาเซียนในอนาคต อีก 3 ปี 5 ปี 10 ปีและปีต่อๆไป
    3. เราจะทำอย่างไรจึงจะไปถึงจุดในข้อ 2
    4. เราจะต้องเตรียมอะไรบ้างเพื่อจะดำเนินการไปถึงขายตรงระดับอาเซียนได้
    ขอ 4 คำถามสำคัญครับที่เราจะต้องทบทวนตัวเองก่อน เน้นนะครับว่าอย่าไปคิดไกลถึงระดับประเทศ เอาแค่ตัวเองให้รอดก่อนว่าเราจะทำเตรียมอะไรบ้าง ?
    สำหรับผมนะครับ สิ่งที่มองเห็นเป็นลำดับแรกซึ่งจำทำให้เรารอดพ้นจากเคลื่อนยักษ์อาเซียนที่กำลังจะโหมซัดเราในอีก 3 ปีข้างหน้าคือ การเรียนรู้แบบไม่สิ้นสุด แล้วเราต้องเรียนรู้อะไรบ้าง ?
    1. การเรียนรู้ยอดฮิต คือ เรื่องภาษาครับ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ที่เขาเรียกว่าภาษาสากล เรียนให้กระจ่างไว้ครับ  อาจจะเริ่มเรียนแบบง่ายๆจากการดูหนัง ฟังเพลงเพลินๆไปครับสบายใจ ย่อยง่าย หรือใครชอบทางลัดคงต้องเรียนแบบเน้นไปเรื่องเฉพาะทาง เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจขายตรงไปเลยครับ (ห้ามใช้ทางลัดแบบว่าหาภรรยาเป็นคนต่างประเทศอันนี้ไม่สนับสนุนสำหรับผู้ที่มีภรรยาคนไทยแล้วครับ มิฉะนั้นท่านอาจจะต้องถูกกักบริเวณอยู่แแค่ในไทยอดไปอาเซียนครับ)
  2. การเรียนรู้เรื่อง วิถีคิด วิถีชีวิต วัฒนธรรมตลอดจนภูมิปัญญาอาเซียน อันนี้สำคัญมากครับเพราะเรื่องเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการต่อยอดธุรกิจขายตรงไปสู่อาเซียน นักธุรกิจขายตรงอาเซียนต้องเปิดใจให้กว้างมากพอ มากพอจะลงไปนั่งกินแบบที่เขากิน ทำแบบที่เขาทำกันได้
 3. การเรียนรู้เรื่อง กฎหมายระหว่างประเทศ / กฎหมายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับขายตรงอาเซี่ยน เพราะนี้คือใบเบิกทางต่อการเข้าสู่ประเทศต่างๆในอาเซียน
 4. การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเรื่องอินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทมาก ตั้งแต่เรื่อง การสื่อสาร การทำธุรกรรมทางการเงิน การประชุม ฯลฯ หากยังไม่เริ่ม เริ่มเรียนรู้เดี๋ยวนี้ยังทันครับ ไม่มีใครแก่หรือสายเกินการเรียนรู้ครับ
 5. เรียนรู้เรื่องการพัฒนาตนเอง ในเชิงกระบวนการคิดเชิงระบบ เชิงกลยุทธ์ เปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างไกล ลงทุนกับการเรียนรู้ด้านธุรกิจขายตรงอาเซียนให้มากๆ เดี๋ยวนี้สื่อต่างๆเน้นเรื่องอาเซียนมากครับ ผมแนะนนำรายการวิทยุของ อสมท. หรือ mcot คลื่นความคิด FM 96.5  เป็นรายการที่เปิดวิสัยทัศน์ด้านอาเซียนได้ดีมากๆครับ มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาเซี่ยนจัดรายการยอดเยี่ยมมากๆ ลองไปหาฟังเพิ่มเติมความรู้ดูนะครับ (ฟังทางเน็ตได้ที่ Mcot.net)

   5 หลักแห่งการพัฒนาสู่นักธุรกิจขายตรงอาเซียนเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องเริ่มเดี๋ยวนี้ ก่อนที่ทุกอย่างจะกลายเป็นเรื่องยากเพราะเราไม่รู้ ขอเป็นกำลังใจสำหรับนักขายตรงระดับอาเซียนทุกท่านที่จะก้าวขึ้นไปเป็นดาวจรัสฟ้าในสังคมขายตรงอาเซียนต่อไป

เขียนโดย
ภาสกร  ผุยพงษ์
http://www.richtimeexpo.com/

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เปิดกะลาสู่อาเซียน-พลพรรคนักขายตรงเตรียมให้พร้อมก่อนเปิดอาเซียน

     
    ที่โน่นก็พูดเรื่องอาเซียน ที่นี้ก็พูดอาเซียน แม่ค้าขายส้มตำยังมีเมนู "ตำอาเซียน" (อันนี้ผมล้อเล่นครับถ้ามีจริงๆก็น่าลอง) ทุกคนพูดถึงอาเซียนแต่มีไมที่เราจะรู้จริงๆ รู้แบบรอบ รู้แบบเอาไปใช้ประโยชน์ได้  งั้นเรามาเริ่มต้นศึกษาพร้อมกันโดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพเราเอง นั่นคือ "ขายตรงอาเซียน" นั่นเอง
   แล้วคุณละรู้เรื่องอาเซียนดีขนาดไหน อย่าปฏิเสธเพราะแค่มองว่ามันไม่เกี่ยวนะครับ เปรียบก็เหมือนกับว่าคุณอาเซียนมาเคาะประตูหน้าบ้านทุกวัน แต่เรากลับมาได้ยิน เกี่ยวไม่เกี่ยวไม่รู้ แต่ถ้าไม่รู้เราเดือดร้อนแน่ๆผมยืนยันครับ เตือนนะครับว่าอย่าทำตัวแบบกบในน้ำที่ค่อยๆเดือด มารู้ตัวอีกครั้งร้อนจ๊าก กระโดดหนีแทบไม่ทัน เหมือนกับประโยคที่ว่า "ถ้าไม่รู้เรื่องอาเซียน อาเซียนจะเล่นคุณ" ในฐานะที่เราอยู่ในวงการเครือข่ายขายตรงที่มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Big Bussiness  ธุรกิจที่ต้องมองว่า มันใหญ่มากกกกกกกก ไม่ใช่แค่การเดินเคาะประตูขายของหรือใช้วิธีการแบบเดิมๆที่ไม่ work ขยายวิชั่น (Vision) ไปให้ไกลกว่า 60 ล้านคน ของพลเมืองไทยไปสู่ 600 กว่าล้านคนของผลเมืองอาเซียน (asean citizen) ตลาดหรือผู้มุ่งหวังที่กว้างขึ้น คือ โอกาสที่สร้างชีวิตยกระดับฐานะสู่ความมั่งคั่งแบบอาเซียน
     ได้ฟังดังนี้เราอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ต้องจัดเตรียมตัวเองสร้างองค์ความรู้ในเรื่อง ขายตรงอาเซียน ยกระดับการทำขายตรงแบบไม่พ้นหน้าบ้าน หรือ MLM local มาเป็น MLM ASEAN ดีกว่าไมครับ อย่าง   Blogที่ผมจัดตั้งขึ้น ไม่เป็นทางการนี้สร้างขึ้นเพื่อรวบรวบ เรียบเรียง แลกเปลี่ยนความคิดในแนว ขายตรงอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ผมกำลังมองไปถึงว่าการเตรียมตัวของเรา เราจะต้องเตรียมอะไรบ้าง ความคิด วิสัยทัศน์ ทักษะ วิธีการ กลยุทธ์ หรืออื่นๆอีกมากมายที่เรากำลังจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มาร่วมกันเถอะครับ มาร่วมกันเปิดใจให้กว้าง เปิดกะลาสู่อาเซียน เพื่อสิ่งดีๆที่กำลังจะเกิดขึ้น
     หากโอกาสเยื้องย่างมาถึงแล้ว แต่คุณกลับนิ่งเฉยหรือปัดมันออกไกล นั่นก็เท่ากับว่าคุณกำลังทำร้ายตัวเองชัดๆ น่าเสียดาย
 
    เขียนและเรียบเรียงโดย
    ภาสกร  ผุยพงษ์ (โทนี่)
   http://www.richtimeexpo.com/