วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

หาจุดแข็งไปสู้แบบนักขายตรงระดับอาเซียน

     "ทุกคนมีดีในตัวที่แตกต่างกันไป หามันให้เจอและนำมันออกมาใช้ประโยชน์ รับรองว่าความสำเร็จเป็นเรื่องเล็ก"
      การเปิดตัวเองสู่ AEC นับว่าจะต้องใช้ฐานความรู้ที่มากพอในการเตรียมตัว เพราะด้วยความแตกต่างของวัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจ รวมถึงระบบการปกครองของประเทศใน AEC สิ่งสำคัญมากที่สุด คือ การหันกลับมามองตัวเอง ถามตัวเองว่า "ฉันพร้อมหรือยัง? ฉันรู้มากพอหรือยัง?ฉันเข้มแข็งพอหรือยังที่จะก้าวเข้าสู่ AEC?"
     กลับมามองแบบนักขายตรงอาเซียน มองมาที่ตัวเรา ให้ลึกไปถึงความถนัดที่ตนเองมีอยู่และมองไปยังจุดอ่อนที่เรายังต้องปรับปรุงเพื่อจะได้นำจุดแข็งไปต่อยอดและอุดช่องว่างที่เป็นจุดอ่อนของเรา เท่าที่ผมสังเกตผมมองว่าจุดแข็งของนักขายตรงไทยที่น่าสนใจมีหลายจุด ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดสู่การทำขายตรงระดับอาเซียนได้ เช่น
   - ยิ้มสยามยังเป็นเสน่ห์-ผมมองว่าสิ่งนี้เป็นต้นทุนทางความรู้สึกที่คนไทยทำได้ดี และรอยยิ้มสยามย่อมจะนำสู่การเปิดประตูสู่การทำธุรกิจขายตรงระดับอาเซี่ยนได้เป็นอย่างดี
   - คนไทยเป็นคนง่ายๆ ชอบประนีประนอม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศอาเซียนคู่ค้าสบายใจที่จะทำธุรกิจด้วยแบบสบายใจ
   - Hub แห่งอาเซี่ยน-ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ประเทศไทยเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อหรือ Hub ทางด้านธุรกิจ อย่างขายตรงระดับอาเซียนเช่นเดียวกัน ประเทศไทยสามารถที่จะยกระดับเป็น Hub แห่งขายตรงอาเซียนได้เช่นเดียวกัน
   - เครือข่ายแบบสังคมยังเหนี่ยวแน่น-ยอมรับอย่างหนึ่งว่าวัฒนธรรมไทยแบบพี่ป้า น้า อา ยังมีอิทธิพลและเป็นเครือข่ายแบบเหนี่ยวแน่น แพร่ออกไปทางวงกว้างซึ่งเป็นจุดแข็งหนึ่งที่จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านหันเข้ามาลงทุนหรือทำธรกิจขายตรงในประเทศไทย
  - ความมีน้ำใจแบบไทยๆ-ข้อนี้เป็นจุดแข็งหนึ่งที่ทำให้ประเทศในอาเซี่ยนอยากเข้ามาทำธุรกิจขายตรงกับคนไทย เพราะเชื่อมั่นว่าหากมีน้ำใจ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันแล้วจะทำให้ขายตรงอาเซี่ยนสำเร็จได้อย่างแน่นอน
 - ประเทศไทยมีนักขายตรงระดับมืออาชีพที่มีชื่อเสียงดีๆ ที่จะดึงดูดให้ประชากรในอาเซียนหันมาทำขายตรงในประเทศไทย
    จุดแข็ง 6 ข้อนี้เป็นการมองภาพรวมให้เห็นสิ่งดีๆที่มีในไทยและสามารถนำจุดแข็งเหล่านี้ไปต่อ
ยอดเพื่อขึ้นสู่การทำขายตรงระดับอาเซี่ยนได้
    แล้วคุณละหาจุดแข็งของตนเจอหรือยัง?

เป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวของ
โทนี่-ภาสกร ผุยพงษ์
   

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

นักขายตรงอาเซียนทั้งหลาย....จงอย่าปิดกั้นตนเอง

ภาพจาก  http://www.muslimthaipost.com
         "เมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียน มนุษย์ต้องเตรียมไว้ 3-4 อาชีพ ไม่มีใครเป็นนักบัญชี นักธุรกิจ หรือนักบริหารตลอดชีวิต การเตรียมคนเพื่อทำอาชีพเดียวจึงไม่เพียงพอ ไม่ทันต่อโลกาภิวัฒน์ที่ต้องเป็นมัลติทาสกิ้ง"
                -- สุรินทร์ พิศสุวรรณ -- เลขาธิการอาเซียน (อ้างอิงจาก  อเดย์บูราติน แชร์จาก facebook อีกทีครับ)

    ข้อความข้างต้น ผมอยากจะขีดเส้นใต้สัก สองเส้นเน้นหนาๆ ชอบมากครับ และเมื่อคิดทบทวนดูแล้ว มันเป็นไปตามนั้นจริงๆด้วย 
     มองย้อนกลับไปตั้งแต่ผมยังแบเบาะ เติบโตขึ้นมาผ่านการศึกษาตามระบบประเทศไทยแป๊ะๆ ไม่เคยมีคำถามอะไรมากมายนัก (ครูเขาไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ถามครับ) มุ่งร่ำเรียนตามสิ่งที่ใฝ่ฝันอย่างที่ครูแนะแนว แนะนำ ระบบความคิดแบบตามสูตร เราอยู่บนสานพานมนุษย์ โรงงานผลิตอะไรเราต้องเป็นไปแบบนั้น จนจบก็ได้ทำงานตรงสาย ผ่านไป 10 ปีมีคำถามใหม่มากมายเกิดขึ้นในหัว (ไม่รู้ทำไมว่าผ่านไป 10 ปียังมีคำถามกับชีวิตอยู่ตลอด) คำถามสำคัญที่น่าจะนำมาใช้ในบทความได้ดี คือ จำเป็นด้วยหรือที่เราต้องเลือกชีวิตเราแบบงงๆ แล้ว ทำไปก็เริ่มมีข้อสงสัย นักกว่านั้น คือ ทำไปก็ไม่มีความสุข เราจะยังดันทุรังทำไปจนตาย"  ด้วยคำถามนี้ละ ที่ทำให้ผมทุบกะลาตัวเองออกแล้วพาตัวไปประสบกับประสบการณ์ใหม่ๆได้

    สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจเข้าสู่วงการขายตรงหลังจากทุบกะลาตนเองออกมาแล้ว คือ เรื่องที่เราได้อยู่กับงานที่ต้องเรียนรู้ พัฒนาตนเองตลอด ได้สร้างระบบ วินัย ของตนเองได้แบบ 100% มองย้อนกลับไปเราเคยสร้างกำแพงแห่งความเคยชิน กำแพงแห่งการกลัวเกรงกับการเปลี่ยนแปลงกั้นขวางตัวเองจนคิดว่า เราไม่ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมแล้ว เราเรียนอะไรมา ต้องทำงานแบบนั้น แต่ไม่เคยถามตัวเองเลยว่า เราชอบมัน เราถนัดมัน เราทำแล้วมีความสุข จริงหรือเปล่า?

    จริงๆแล้ว คำว่า อาชีพโน่นนี้นั้น มันคือสิ่งสมมติที่มนุษย์สร้างขึ้นมา แต่มันไม่ใช่สิ่งที่จะมาปิดกั้นให้เราต้องเป็นไปอย่างนั้นไปจนตายหรอกครับ โชคดีขนาดไหนที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แต่เราชอบลืมกันว่า โชคดีไปกว่านั้น คือ เราคือมนุษย์ที่เลือกวิถีทางชีวิตตนเองได้

     อย่างอาชีพธุรกิจเครือข่ายขายตรง ก็ถือเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างให้เราต้องเก่งรอบด้าน ไม่ได้ปิดกั้นให้เราเก่งแค่ทางใดทางหนึ่ง หากอยากสำเร็จในวงการก็ต้องเสริมสร้างทักาะ ต่างๆ เช่น ภาวะผู้นำ ทักษะการตลาด ทักาะการขาย การสื่อสาร ทักษะการบริการ  การครองใจคน และทักาะอื่นๆอีกมากมาย  เหมือนกับเราต้องมีกันหลายๆอาชีพในตัวของเราจึงจะส่งเสริมความสำเร็จของตนได้

    จงอย่าปิดกั้นตนเอง เพียงแต่ว่าคนอื่นหรือความคิดเดิมๆทำให้เราเป็นอย่างนั้น แต่จงทุบกะลาตัวเองออกมา ให้โอกาสตัวเองได้เจอกับสิ่งใหม่ๆ เพื่อที่จะได้เจอกับสิ่งที่ใช่สำหรับคนจริงๆ แล้ววันน้นจะเป็นวันที่คุณตายตาหลับแน่นอน

ข้อคิดเห็นส่วนตัวของ
โทนี่  ภาสกร  ผุยพงษ์

www.richtimeteam.com
www.richtimeexpo.com

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

มุมมองที่แตกต่างกลายเป็นฟ้ากับเหวของนักขายตรงอาเซียน

       ได้มีโอกาสอ่านบทความดีๆ จากคนเขียนคอลัมน์ "Marketing Hub" ในนสพ.กรุงเทพธุรกิจ ตอนที่ว่าด้วยการแข่งขันด้านฝีมือแรงงานของคนไทยกับภาพกว้างระดับอาเวียน รายละเอียดผมไม่ขอพุดถึงแต่เรื่องโดนใจ คือ ในมุมของการมองระดับอาเซียน การทำการค้าขายหรือการทำขายตรงอาเซียน  เรามักมองในแง่ดีว่าจากที่เราเคยมีลูกค้า 60 ล้านคน(แค่ในกรอบเมืองไทย) ขยายไปเป็นกลุ่มลูกค้าถึง 600 ล้านคน บางคนยิ้มกับมุมนี้ครับ ยิ้มกันจนแก้มปริ แต่มีคำหนึ่งที่ผมต้องหยุดคิด คือ มองในแง่ของคู่แข่งครับ หมายความว่า หากเราไม่เตรียมพร้อม ลูกค้า 600 ล้านคน อาจกลับกลายเป็นคู่แข่ง 600 ล้านคนทันที่ น่าคิดครับ....
      ข้อความในย่อหน้าที่แล้วกระตุกเส้น ให้ผมต้องหันมากระตือรือร้น ว่าเราไม่มีเวลานั่งอยู่กับที่หรือคิดอะไรนานๆอีกแล้ว หากเราจะมองขายตรงไปสู่ระดับอาเซียน กระแสคลื่นแห่งAEC พัดมาอย่างไม่ปราณีปราศัย หากเราช้ากันอยู่จะไม่ทันการนะครับ และต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเรื่องของ บุคลากร อย่าง เวียดนาม กัมพูชา หรือประเทศใกล้เราสุดๆอย่างสปป.ลาว กระตือรือร้นในเรื่อง AEC มาก จนวันหนึ่งผมตกใจมากที่ได้ยินข่าวว่า ประชาชนสปป.ลาวรู้เรื่อง AEC มากกว่าเราอีกครับ
    เวลามีไม่มากนัก ผ่านเลยมาก็เลยผ่านไป มุมมองในเรื่องเดียวกันอาจผลิกไปแบบฟ้ากับเหว ลูกค้า 600 ล้านคนระดับขายตรงอาเซียน อาจกลายเป็นคู่แข่ง 600 คนแบบที่เราไม่รู้ตัว
    นักขายตรงอาเซียนทั้งหลายอย่ามัวรอแต่เวลา รอให้เวลากลืนกินเรา จงเตรียมตัวให้พร้อมรับคลื่นลูกใหญ่แห่งการเปลี่ยนแปลง ด้วยสติและปัญญาอันเปี่ยมล้น เพื่อความสำเร็จระดับขายตรงอาเซียน

  เขียนโดย
  ภาสกร  ผุยพงษ์

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เล่าเรื่องขายตรงเรือนเคียง-สบายดีประเทศลาว

สบายดี (สวัสดี).......
    วันนี้ขอทักทายทำนองเดียวกับพี่น้องสปป.ลาว และถือว่าเราร่วมแบ่งปันความรู้กันครับกับการบอกเล่าประสบการณ์ตรงที่ได้ไปๆมาๆทำงานขายตรงในสปป.ลาว
    ครั้งแรกที่เข้าไป ยอมรับครับว่ายังไม่รู้อะไรมากมาย เรามองแต่เพียงว่า ประเทศลาวเป็นประเทศสงบๆประเทศหนึ่งที่ยังมีประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่ใกล้เคียงกับภาคอีสานบ้านเรา ซึ่งตัวผมเองก็ค่อนข้างได้เปรียบและสบายใจมาก เพราะตัวผมเองก็เป็นลูกอีสาน เพราะฉะนั้นเรื่องภาษาไม่เป็นปัญหาเวลาเข้าประเทศลาว
     พูดถึงว่าให้เลือกประเทศในอาเซียนเพื่อที่จะเปิดตลาดขายตรงอาเซียนประเทศแลกที่ต้องมองก่อนหลายท่านน่าจะมองไปที่ สปป.ลาว ประเด็นสำคัญ คือ เรื่องภาษานี่ละครับ พูดง่ายๆว่ายังพอคุยกันรู้เรื่อง ถ้าไปเริ่มต้นที่เวียดนามหรือกัมพูชาคงต้องคุยกันจยเมื่อยมือแน่นอนครับ
    ผมประทับใจพี่น้องสปป.ลาวหลายๆอย่างครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำใจ ความจริงใจ และความมุ่งมั่น โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาตนเอง ช่วงแรกๆที่เข้าไปทำขายตรงที่สปป.ลาว จะมีกลุ่มนักศึกษาเข้ามาเยอะมาก กลางวันเรียน เย็นทำงาน ว่างๆยังมาทำขายตรง  มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ส่งตัวเองเรียนและยังสามารถนำไปใช้จ่ายในครอบครัวได้อีก บางคนถึงกับนำเงินไปสร้างบ้านเลยทีเดียว ตรงนี้ผมขอชื่นชมอย่างจริงใจ
ภาพจาก  http://vientiane.thaiembassy.org/vientiane
/th/about/about_basic/index.php
    มีความประทับใจอย่างหนึ่งที่ผมพูดถึงเสมอ คือ เรื่องของการพัฒนาตนเองโดยเฉพาะการเข้าคอร์สฝึกอบรม ทุกครั้งที่บริษัทจัดฝึกอบรมผมจะเห็นคนลาวเยอะมาก ถ้าจัดที่ลาวขั้นต่ำก็ 100 ท่านกว่าๆ บางครั้งจัดที่ประเทศไทยไกลแสนไกลเขายังมีกระจิตกระใจข้ามน้ำข้ามทะเลมาร่ำเรียนเพื่อความสำเร็จ ในขณะที่เรียนก็ตั้งใจเต็มที่แบบไม่มีใครแอบหลับ สุดยอดจริงๆครับ
   ประชากรในสปป.ลาว มีประมาณ 7 ล้านกว่าคน เทียบกับไทยถือว่าน้อยกว่าเยอะ เป็นสังคมที่ยังอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีดั่งเดิมไว้ดีมากๆ และยังเป็นสังคมที่มีครอบครัวใหญ่ที่ยังเหนียวแน่น การตลาดแบบปากต่อปากจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากที่สปป.ลาว ผมจึงไม่แปลกใจว่าทำไมขายตรงถึงบูมได้เร็วมากที่สปป.ลาว
    แต่มีเรื่องเล่าอย่างหนึ่งที่คนไทยบางคนโดยเฉพาะแม่ทีมไปทำไม่ดีไว้ เช่น หลอกขายสินค้า,หลอกให้สมัครสมาชิก ลงเงินเยอะๆแล้วจะตอบแทนกลับเยอะ จนคนลาวบางคนมองขายตรงที่ไปจากเมืองไทยในแง่ไม่ดี เข้าทำนอง "ปลาเน่าตัวเดียว เหม็นทั้งข้อง" ช่วงแรกๆที่เข้าลาวก็ต้องอธิบายประเด็นนี้ยาวนานพอสมควร
    การเข้าไปทำขายตรงที่ลาวสิ่งสำคัญ คือ บริษัทต้องมีความจริงจัง จริงใจ เรื่องกฎหมายสำคัญ การขออย. การนำเข้าและเสียภาษีต้องให้ถูกต้องทุกอย่าง  ไม่ใช่การปล่อยให้แม่ทีมไปทำกันเองโดยไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ จนกลายเป็นเรื่องความเสียหายของวงการขายตรง
   หากเราอยากได้ความจริงใจกับใคร เราก็ควรจะต้องให้เขาก่อน ไม่ว่าพี่น้องสปป.ลาว หรือประเทศใดๆ เขาย่อมต้องการความจริงใจในการทำธุรกิจร่วมกันทั้งนั้น
   ท่านว่าจริงไม ?
   สบายดี

เขียนโดย
ภาสกร  ผุยพงษ์

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สิ่งที่น่าสนใจระหว่างธุรกิจขายตรงกับประเทศพม่า

ภาพจาก  www.oknation.net/blog/print.php?id=724067
     ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนไป วาระต่างๆแปรเปลี่ยนไปตามเวลา อะไรที่ยังคงเดิมก็ยากที่จะยืนอยู่อย่างมั่นคง
     กระแสของประชาคมอาเซียนหรือ AEC ถูกพูดถึงในวงกว้าง แทบทุกวงการหนีไม่พ้นเรื่องนี้ ประเทศต่างๆในอาเซียนต่างตื่นตัวไม่เว้นแม้แต่บางประเทศที่เคยถูกคว่ำบาตรจากอเมริกาและยุโรปหรือเคยปิดประเทศอย่างพม่าก็เกิดการปรับตัวไปในทิศทางที่ดี จนเป็นที่น่าสนใจต่อนักลงทุนและนักธุรกิจที่จะเข้าไปขยายธุรกิจในพม่า
จนมีคำกล่าวในวงการสื่อว่า "พม่ากำลังเนื้อหอม"
   มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพม่าที่เกี่ยวข้องกับการทำขายตรงอาเซียนมานำเสนอทุกๆท่านเผื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจไปขยายธุรกิจที่พม่า ดังนี้
   - กฎหมายด้านการลงทุนของพม่าเริ่มชัดเจนขึ้น โดยข้อมูลยืนยันคือ คำกล่าวปราศรัยเกี่ยวกับแผนพัฒนาแห่งชาติ 5 ปีนับจากปี 2011-2012 โดยวางศูนย์กลางการพัฒนาอยู่ที่เศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการค้าและการลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนด้านเทคโนโลยี
  - กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือสหพัฒน์ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการลงทุนในพม่าได้น่าสนใจ โดยสรุป คือ กฎหมายด้านการลงทุนที่ชัดเจนขึ้น จะดึงการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในพม่าได้มากขึ้น และในส่วนของการดึงคนระดับท้องถิ่นมาเป็นคู่ค้า ธุรกิจขายตรงในพม่า จะเป็นเครื่องมือที่ดีอย่างหนึ่ง ซึ่งสินค้าที่คนพม่านิยมกันจะอยู่ในหมวดหมู่เครื่องอุปโภค บริโภค รวมถึงความงาม
 - จุดเด่นของประเทศพม่าที่กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจของอาเวยน คือ
      @ พม่ามีพื้นที่ติดกับอินเดียและจีนและที่สำคัญคือชายแดนพม่าติดกับชายแดนประเทศไทยรวมแล้วนับ 10 จังหวัด ซึ่งเป็นความได้เปรียบเชิงภูิมศาสตร์ที่จะขยายเศรษฐกิจให้กว้างออกไป
     @ แหล่งทรัพยากรของพม่ายังมีมากและยังไม่ถูกนำมาใช้ เช่น ป่าไม้/ก๊าซธรรมชาติ
     @ ประชากรพม่ามีใกล้เคียงกับไทยคือ ประมาณ 60 ล้านคนมีแรงงานกว่า 30 ล้านคนซึ่งเป็นแรงงานคุณภาพดีและราคาถูก
    @ อัตรการแลกเปลี่ยนเงินของพม่าเมื่อก่อนเป็นแบบหลายอัตรา 6 จ๊าด =  1 US$ แต่พอปรับเปลี่ยนเป็นระบบลอยตัว อัตราจะเป็น 800 จ๊าด = 1 US$ นับว่ามีความยืดหยุ่นสูง
 -  เรื่องน่ารู้เกี่ยกับผู้บริโภคพม่า
    @ ผู้บริโภคพม่ามีความฉลาด เรียนรู้ไว รักในศักดิ์ศรีตนเองอย่างมาก แถมยังมีความกระตือรือร้นสูงเพราะอยู่ใต้การปกครองแบบทหาร
   @ ผู้บริโภคมี 2 ประเภท คือ คนรวย เป็นส่วนน้อยของประเทศ มีกำลังมากพอที่จะซื้อสินค้าแบรนด์แนม หรือสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องสำอาง ซึ่งสามารถซื้อได้มากกว่าคนรวยในประเทศไทย อีกประเภทหนึ่งคือคนจน เป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศ หาเช้า กินค่ำ ประหยัดค่าใช้จ่ายมาก ทานข้าวเป็นหลักและทานเยอะมาก (ทานลักษณะพูนจาน) กับข้าว 1 ถุงทานได้ 2 มื้อ
    @ อาหารหลักต้องมีส่วนประกอบด้วย "น้ำมันพืช" หากไม่มีอะไรจะทานจริงๆจะใช้น้ำมันพืชคลุกข้าวแล้วโรยด้วยผงชูรส
     @ ส่วนใหญ่ประชากรพม่าชอบเคี้ยวหมาก
     @ มักห่อข้าวใส่ปิ่นโตไปรับประทานที่ทำงาน
     @ คนพม่ามีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าไทย มองสินค้าไทยเป็นสินค้าเกรดอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ผงชูรสจากเมืองไทย มักถูกจัดวางไว้บนชั้นวางเฉพาะ คนที่ต้องการและทราบจริงๆจึงจะถามหา บวกกับอิทธิพลจากคนที่ทำงานในเมืองไทยและกลับไปบอกต่อที่บ้าน รวมถึงสื่อโทรทัศน์จากเมืองไทย จึงทำให้คนพม่ามองสินค้าไทยในแง่ดีมากๆ ถึงแม้ว่าสินค้าไทยจะแพงกว่าสินค้าพม่า 0..5-1 เท่า คนพม่าก็ยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อสินค้าไทย
     นี้คือข้อมูลที่ผมรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ผมหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำขายตรงอาเซียน ในประเทศพม่าได้เป็นอย่างดี
    อย่าลืมนะครับว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะ 100 ครั้ง
    มีข้อมูลดีๆแบ่งปันกันได้ครับ

 รวบรวม/เรียบเรียงโดย ภาสกร  ผุยพงษ์(โทนี่)

ขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆจาก
- www.nationchanel.com
- thai.cri.cn
-e-jounal.dip.go.th
- บทความจาก กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 พค. 55 โดยดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธุรกิจการค้าขายตรงในตลาดเวียดนาม




ธุรกิจการค้าขายตรงในตลาดเวียดนาม

ดร.ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ กรุงเทพมหานคร
เมื่อปี2548รัฐบาลเวียดนามได้ออกกฎหมายDecree on Administration of Multi-Level Selling Activitiesเพื่อควบคุมธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะ โดยกฎหมายฉบับนี้มีข้อกำหนดที่สำคัญเกี่ยวกับประเภทสินค้าที่จะนำมาทำธุรกิจเครือข่ายสัญชาติของผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกการจำหน่ายสินค้าให้แก่สมาชิกบางประเภท ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้ตั้ง
หน่วยงานเฉพาะขึ้นมากำกับดูแลธุรกิจนี้อีกด้วย มีชื่อว่าสำนักงานการแข่งขันทางการค้าเวียดนาม (VietnamCompetition Authority) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของก ระทรวงพาณิชย์ทำให้ ธุรกิจขายตรงในเวียดนามเป็นธุรกิจที่ถูกกฎหมาย มีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากรัฐบาลทำให้ธุรกิจได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถยกระดับภาพพจน์ของธุรกิจไปสู่ระดับสากล
             ตั้งแต่เริ่มมีธุรกิจขายตรงในเวียดนามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการด้านธุรกิจขายตรงทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับอนุญาตและขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจเครือข่ายในเวียดนามประมาณ 40 รายเท่านั้น โดยรูปแบบทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตมีแตกต่างกันไป ที่สำคัญได้แก่
             1.การได้รับสิทธิ์ในการทำธุรกิจ(License) เป็นการที่มีการจัดตั้งบริษัทท้องถิ่นขึ้น และรับสิทธิอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจขายตรงจากผู้ประกอบการในต่างประเทศ อาทิForever Living, Oriflame,Tahitian Noni,Agel ฯลฯ
             2. การร่วมลงทุน (Joint–venture) เป็นการที่ผู้ประกอบการท้องถิ่นร่วมกับผู้ประกอบการไทยที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการดำเนินธุรกิจขายตรงในเวียดนาม เช่น Mistine จากประเทศไทย
             3. การลงทุนทางตรง (Foreign direct investment)เป็นการที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศมีการลงทุนสร้างโรงงานและได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจขายตรงได้ในเวียดนามเช่น Avon,Amway
             4.        การเปิดธุรกิจเพื่อการพาณิชย์ของต่างชาติ(Foreign wholly-owned trading company) เป็น
การที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ยื่นขออนุญาตเปิดสำนักงานเพื่อการขายตรงเป็นการเฉพาะต่อกระทรวงพาณิชย์ โดยรัฐบาลเวียดนามได้อนุญาตให้มีการดำเนินการในรูปแบบนี้ตั้งแต่วันที่1มกราคม2552 เป็นต้นมา (ตามพันธะผูกพันที่มีต่อ WTOโดย Herbalife เป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุญาตในปี2552 และล่าสุดเมื่อปลายปีที่ผ่านมา Sophie จากประเทศอินโดนีเซียก็ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินธุรกิจขายตรงในรูปแบบนี้ด้วยเช่นกัน
             ผู้ประกอบการในธุรกิจขายตรงในเวียดนามได้มีการรวมกลุ่มสมาชิกกันขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจเครือข่ายในประเทศปัจจุบันมีการจัดตั้งเป็นสมาคมขึ้น 2 แห่งที่สำคัญได้แก่ ชมรมผู้ประกอบธุรกิจขายตรงแอมแชมแห่งเวียดนาม (Amcham Vietnam Direct Selling Committee)เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการขายตรงจากต่างประเทศก่อตั้งในปี2551 โดยการริเริ่มของสภาหอการค้าแห่งอเมริกาในเวียดนาม(American Chamber of Commerce in Vietnam) และสมาคมการตลาดขายตรงหลายชั้นเวียดนาม (Vietnam Multi-levelMarketing Association) ที่จัดตั้งในปี2552 เป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงท้องถิ่นในประเทศเป็นหลักโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางของบริษัทสมาชิกในการให้ข้อมูลธุรกิจขายตรงที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจสร้างเอกภาพและพลังในการเคลื่อนไหวในการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐในประเด็นปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของธุรกิจขายตรงในเวียดนาม

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นักธุรกิจขายตรงจัดตัวเองให้หนักรับอาเซียน

     โอลิมปิกเพิ่งจบไปหมาดๆ สิ่งที่มองเห็นและสุดประทับใจ คือ การเตรียมตัวของทัพนักกีฬาไทยที่บางคนใช้เวลานับสิบปี เพื่อขึ้นเวทีหรือลงสนามแข่งขันเพียงไม่กี่นาที แม้ว่าจะได้หรือไม่ได้เหรียญโอลิมปิกแต่ก็ขอชื่นชมในความมุ่งมั่นและตั้งใจ นั้ยิ่งกว่าเหรียญทองอีกสิบเหรียญครับ ขอปรบมือให้ แป๊ะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    มองย้อนมายังขายตรงอาเซียน มองให้แคบไปกว่านั้น คือ นักธุรกิจขายตรงอาเซียนแบบเราๆท่านๆ (ต่อไปนี้ใครยังมองแค่นักธุรกิจขายตรงแบบไทยๆ เปลี่ยนใหม่ครับยกระดับกันตั้งแต่วันนี้ ไม่ต้องรอ 3 ปีข้างหน้า) ย่อมจะต้องมองตั้งแต่วันนี้ว่า อีก 3 ปีข้างหน้าเราจะไปยืนอยู่ตรงตำแหน่งไหนของภูมิภาคนี้น้าาาาา  เริ่มตั้งคำถามกับตัวเอง ณ บัดนี้ กับ 3 คำถามครับ
    1. เราอยู่ ณ จุดไหนของขายตรงอาเซียนในปัจจุบัน
    2. เรากำลังจะไปอยู่ ณ จุดใดของขายตรงอาเซียนในอนาคต อีก 3 ปี 5 ปี 10 ปีและปีต่อๆไป
    3. เราจะทำอย่างไรจึงจะไปถึงจุดในข้อ 2
    4. เราจะต้องเตรียมอะไรบ้างเพื่อจะดำเนินการไปถึงขายตรงระดับอาเซียนได้
    ขอ 4 คำถามสำคัญครับที่เราจะต้องทบทวนตัวเองก่อน เน้นนะครับว่าอย่าไปคิดไกลถึงระดับประเทศ เอาแค่ตัวเองให้รอดก่อนว่าเราจะทำเตรียมอะไรบ้าง ?
    สำหรับผมนะครับ สิ่งที่มองเห็นเป็นลำดับแรกซึ่งจำทำให้เรารอดพ้นจากเคลื่อนยักษ์อาเซียนที่กำลังจะโหมซัดเราในอีก 3 ปีข้างหน้าคือ การเรียนรู้แบบไม่สิ้นสุด แล้วเราต้องเรียนรู้อะไรบ้าง ?
    1. การเรียนรู้ยอดฮิต คือ เรื่องภาษาครับ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ที่เขาเรียกว่าภาษาสากล เรียนให้กระจ่างไว้ครับ  อาจจะเริ่มเรียนแบบง่ายๆจากการดูหนัง ฟังเพลงเพลินๆไปครับสบายใจ ย่อยง่าย หรือใครชอบทางลัดคงต้องเรียนแบบเน้นไปเรื่องเฉพาะทาง เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจขายตรงไปเลยครับ (ห้ามใช้ทางลัดแบบว่าหาภรรยาเป็นคนต่างประเทศอันนี้ไม่สนับสนุนสำหรับผู้ที่มีภรรยาคนไทยแล้วครับ มิฉะนั้นท่านอาจจะต้องถูกกักบริเวณอยู่แแค่ในไทยอดไปอาเซียนครับ)
  2. การเรียนรู้เรื่อง วิถีคิด วิถีชีวิต วัฒนธรรมตลอดจนภูมิปัญญาอาเซียน อันนี้สำคัญมากครับเพราะเรื่องเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการต่อยอดธุรกิจขายตรงไปสู่อาเซียน นักธุรกิจขายตรงอาเซียนต้องเปิดใจให้กว้างมากพอ มากพอจะลงไปนั่งกินแบบที่เขากิน ทำแบบที่เขาทำกันได้
 3. การเรียนรู้เรื่อง กฎหมายระหว่างประเทศ / กฎหมายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับขายตรงอาเซี่ยน เพราะนี้คือใบเบิกทางต่อการเข้าสู่ประเทศต่างๆในอาเซียน
 4. การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเรื่องอินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทมาก ตั้งแต่เรื่อง การสื่อสาร การทำธุรกรรมทางการเงิน การประชุม ฯลฯ หากยังไม่เริ่ม เริ่มเรียนรู้เดี๋ยวนี้ยังทันครับ ไม่มีใครแก่หรือสายเกินการเรียนรู้ครับ
 5. เรียนรู้เรื่องการพัฒนาตนเอง ในเชิงกระบวนการคิดเชิงระบบ เชิงกลยุทธ์ เปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างไกล ลงทุนกับการเรียนรู้ด้านธุรกิจขายตรงอาเซียนให้มากๆ เดี๋ยวนี้สื่อต่างๆเน้นเรื่องอาเซียนมากครับ ผมแนะนนำรายการวิทยุของ อสมท. หรือ mcot คลื่นความคิด FM 96.5  เป็นรายการที่เปิดวิสัยทัศน์ด้านอาเซียนได้ดีมากๆครับ มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาเซี่ยนจัดรายการยอดเยี่ยมมากๆ ลองไปหาฟังเพิ่มเติมความรู้ดูนะครับ (ฟังทางเน็ตได้ที่ Mcot.net)

   5 หลักแห่งการพัฒนาสู่นักธุรกิจขายตรงอาเซียนเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องเริ่มเดี๋ยวนี้ ก่อนที่ทุกอย่างจะกลายเป็นเรื่องยากเพราะเราไม่รู้ ขอเป็นกำลังใจสำหรับนักขายตรงระดับอาเซียนทุกท่านที่จะก้าวขึ้นไปเป็นดาวจรัสฟ้าในสังคมขายตรงอาเซียนต่อไป

เขียนโดย
ภาสกร  ผุยพงษ์
http://www.richtimeexpo.com/

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เปิดกะลาสู่อาเซียน-พลพรรคนักขายตรงเตรียมให้พร้อมก่อนเปิดอาเซียน

     
    ที่โน่นก็พูดเรื่องอาเซียน ที่นี้ก็พูดอาเซียน แม่ค้าขายส้มตำยังมีเมนู "ตำอาเซียน" (อันนี้ผมล้อเล่นครับถ้ามีจริงๆก็น่าลอง) ทุกคนพูดถึงอาเซียนแต่มีไมที่เราจะรู้จริงๆ รู้แบบรอบ รู้แบบเอาไปใช้ประโยชน์ได้  งั้นเรามาเริ่มต้นศึกษาพร้อมกันโดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพเราเอง นั่นคือ "ขายตรงอาเซียน" นั่นเอง
   แล้วคุณละรู้เรื่องอาเซียนดีขนาดไหน อย่าปฏิเสธเพราะแค่มองว่ามันไม่เกี่ยวนะครับ เปรียบก็เหมือนกับว่าคุณอาเซียนมาเคาะประตูหน้าบ้านทุกวัน แต่เรากลับมาได้ยิน เกี่ยวไม่เกี่ยวไม่รู้ แต่ถ้าไม่รู้เราเดือดร้อนแน่ๆผมยืนยันครับ เตือนนะครับว่าอย่าทำตัวแบบกบในน้ำที่ค่อยๆเดือด มารู้ตัวอีกครั้งร้อนจ๊าก กระโดดหนีแทบไม่ทัน เหมือนกับประโยคที่ว่า "ถ้าไม่รู้เรื่องอาเซียน อาเซียนจะเล่นคุณ" ในฐานะที่เราอยู่ในวงการเครือข่ายขายตรงที่มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Big Bussiness  ธุรกิจที่ต้องมองว่า มันใหญ่มากกกกกกกก ไม่ใช่แค่การเดินเคาะประตูขายของหรือใช้วิธีการแบบเดิมๆที่ไม่ work ขยายวิชั่น (Vision) ไปให้ไกลกว่า 60 ล้านคน ของพลเมืองไทยไปสู่ 600 กว่าล้านคนของผลเมืองอาเซียน (asean citizen) ตลาดหรือผู้มุ่งหวังที่กว้างขึ้น คือ โอกาสที่สร้างชีวิตยกระดับฐานะสู่ความมั่งคั่งแบบอาเซียน
     ได้ฟังดังนี้เราอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ต้องจัดเตรียมตัวเองสร้างองค์ความรู้ในเรื่อง ขายตรงอาเซียน ยกระดับการทำขายตรงแบบไม่พ้นหน้าบ้าน หรือ MLM local มาเป็น MLM ASEAN ดีกว่าไมครับ อย่าง   Blogที่ผมจัดตั้งขึ้น ไม่เป็นทางการนี้สร้างขึ้นเพื่อรวบรวบ เรียบเรียง แลกเปลี่ยนความคิดในแนว ขายตรงอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ผมกำลังมองไปถึงว่าการเตรียมตัวของเรา เราจะต้องเตรียมอะไรบ้าง ความคิด วิสัยทัศน์ ทักษะ วิธีการ กลยุทธ์ หรืออื่นๆอีกมากมายที่เรากำลังจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มาร่วมกันเถอะครับ มาร่วมกันเปิดใจให้กว้าง เปิดกะลาสู่อาเซียน เพื่อสิ่งดีๆที่กำลังจะเกิดขึ้น
     หากโอกาสเยื้องย่างมาถึงแล้ว แต่คุณกลับนิ่งเฉยหรือปัดมันออกไกล นั่นก็เท่ากับว่าคุณกำลังทำร้ายตัวเองชัดๆ น่าเสียดาย
 
    เขียนและเรียบเรียงโดย
    ภาสกร  ผุยพงษ์ (โทนี่)
   http://www.richtimeexpo.com/