วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธุรกิจการค้าขายตรงในตลาดเวียดนาม




ธุรกิจการค้าขายตรงในตลาดเวียดนาม

ดร.ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ กรุงเทพมหานคร
เมื่อปี2548รัฐบาลเวียดนามได้ออกกฎหมายDecree on Administration of Multi-Level Selling Activitiesเพื่อควบคุมธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะ โดยกฎหมายฉบับนี้มีข้อกำหนดที่สำคัญเกี่ยวกับประเภทสินค้าที่จะนำมาทำธุรกิจเครือข่ายสัญชาติของผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกการจำหน่ายสินค้าให้แก่สมาชิกบางประเภท ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้ตั้ง
หน่วยงานเฉพาะขึ้นมากำกับดูแลธุรกิจนี้อีกด้วย มีชื่อว่าสำนักงานการแข่งขันทางการค้าเวียดนาม (VietnamCompetition Authority) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของก ระทรวงพาณิชย์ทำให้ ธุรกิจขายตรงในเวียดนามเป็นธุรกิจที่ถูกกฎหมาย มีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากรัฐบาลทำให้ธุรกิจได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถยกระดับภาพพจน์ของธุรกิจไปสู่ระดับสากล
             ตั้งแต่เริ่มมีธุรกิจขายตรงในเวียดนามในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการด้านธุรกิจขายตรงทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับอนุญาตและขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจเครือข่ายในเวียดนามประมาณ 40 รายเท่านั้น โดยรูปแบบทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตมีแตกต่างกันไป ที่สำคัญได้แก่
             1.การได้รับสิทธิ์ในการทำธุรกิจ(License) เป็นการที่มีการจัดตั้งบริษัทท้องถิ่นขึ้น และรับสิทธิอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจขายตรงจากผู้ประกอบการในต่างประเทศ อาทิForever Living, Oriflame,Tahitian Noni,Agel ฯลฯ
             2. การร่วมลงทุน (Joint–venture) เป็นการที่ผู้ประกอบการท้องถิ่นร่วมกับผู้ประกอบการไทยที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการดำเนินธุรกิจขายตรงในเวียดนาม เช่น Mistine จากประเทศไทย
             3. การลงทุนทางตรง (Foreign direct investment)เป็นการที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศมีการลงทุนสร้างโรงงานและได้รับอนุญาตให้ทำธุรกิจขายตรงได้ในเวียดนามเช่น Avon,Amway
             4.        การเปิดธุรกิจเพื่อการพาณิชย์ของต่างชาติ(Foreign wholly-owned trading company) เป็น
การที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ยื่นขออนุญาตเปิดสำนักงานเพื่อการขายตรงเป็นการเฉพาะต่อกระทรวงพาณิชย์ โดยรัฐบาลเวียดนามได้อนุญาตให้มีการดำเนินการในรูปแบบนี้ตั้งแต่วันที่1มกราคม2552 เป็นต้นมา (ตามพันธะผูกพันที่มีต่อ WTOโดย Herbalife เป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุญาตในปี2552 และล่าสุดเมื่อปลายปีที่ผ่านมา Sophie จากประเทศอินโดนีเซียก็ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินธุรกิจขายตรงในรูปแบบนี้ด้วยเช่นกัน
             ผู้ประกอบการในธุรกิจขายตรงในเวียดนามได้มีการรวมกลุ่มสมาชิกกันขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจเครือข่ายในประเทศปัจจุบันมีการจัดตั้งเป็นสมาคมขึ้น 2 แห่งที่สำคัญได้แก่ ชมรมผู้ประกอบธุรกิจขายตรงแอมแชมแห่งเวียดนาม (Amcham Vietnam Direct Selling Committee)เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการขายตรงจากต่างประเทศก่อตั้งในปี2551 โดยการริเริ่มของสภาหอการค้าแห่งอเมริกาในเวียดนาม(American Chamber of Commerce in Vietnam) และสมาคมการตลาดขายตรงหลายชั้นเวียดนาม (Vietnam Multi-levelMarketing Association) ที่จัดตั้งในปี2552 เป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงท้องถิ่นในประเทศเป็นหลักโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางของบริษัทสมาชิกในการให้ข้อมูลธุรกิจขายตรงที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจสร้างเอกภาพและพลังในการเคลื่อนไหวในการขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐในประเด็นปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของธุรกิจขายตรงในเวียดนาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น