วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

หาจุดแข็งไปสู้แบบนักขายตรงระดับอาเซียน

     "ทุกคนมีดีในตัวที่แตกต่างกันไป หามันให้เจอและนำมันออกมาใช้ประโยชน์ รับรองว่าความสำเร็จเป็นเรื่องเล็ก"
      การเปิดตัวเองสู่ AEC นับว่าจะต้องใช้ฐานความรู้ที่มากพอในการเตรียมตัว เพราะด้วยความแตกต่างของวัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจ รวมถึงระบบการปกครองของประเทศใน AEC สิ่งสำคัญมากที่สุด คือ การหันกลับมามองตัวเอง ถามตัวเองว่า "ฉันพร้อมหรือยัง? ฉันรู้มากพอหรือยัง?ฉันเข้มแข็งพอหรือยังที่จะก้าวเข้าสู่ AEC?"
     กลับมามองแบบนักขายตรงอาเซียน มองมาที่ตัวเรา ให้ลึกไปถึงความถนัดที่ตนเองมีอยู่และมองไปยังจุดอ่อนที่เรายังต้องปรับปรุงเพื่อจะได้นำจุดแข็งไปต่อยอดและอุดช่องว่างที่เป็นจุดอ่อนของเรา เท่าที่ผมสังเกตผมมองว่าจุดแข็งของนักขายตรงไทยที่น่าสนใจมีหลายจุด ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดสู่การทำขายตรงระดับอาเซียนได้ เช่น
   - ยิ้มสยามยังเป็นเสน่ห์-ผมมองว่าสิ่งนี้เป็นต้นทุนทางความรู้สึกที่คนไทยทำได้ดี และรอยยิ้มสยามย่อมจะนำสู่การเปิดประตูสู่การทำธุรกิจขายตรงระดับอาเซี่ยนได้เป็นอย่างดี
   - คนไทยเป็นคนง่ายๆ ชอบประนีประนอม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศอาเซียนคู่ค้าสบายใจที่จะทำธุรกิจด้วยแบบสบายใจ
   - Hub แห่งอาเซี่ยน-ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ประเทศไทยเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อหรือ Hub ทางด้านธุรกิจ อย่างขายตรงระดับอาเซียนเช่นเดียวกัน ประเทศไทยสามารถที่จะยกระดับเป็น Hub แห่งขายตรงอาเซียนได้เช่นเดียวกัน
   - เครือข่ายแบบสังคมยังเหนี่ยวแน่น-ยอมรับอย่างหนึ่งว่าวัฒนธรรมไทยแบบพี่ป้า น้า อา ยังมีอิทธิพลและเป็นเครือข่ายแบบเหนี่ยวแน่น แพร่ออกไปทางวงกว้างซึ่งเป็นจุดแข็งหนึ่งที่จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านหันเข้ามาลงทุนหรือทำธรกิจขายตรงในประเทศไทย
  - ความมีน้ำใจแบบไทยๆ-ข้อนี้เป็นจุดแข็งหนึ่งที่ทำให้ประเทศในอาเซี่ยนอยากเข้ามาทำธุรกิจขายตรงกับคนไทย เพราะเชื่อมั่นว่าหากมีน้ำใจ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันแล้วจะทำให้ขายตรงอาเซี่ยนสำเร็จได้อย่างแน่นอน
 - ประเทศไทยมีนักขายตรงระดับมืออาชีพที่มีชื่อเสียงดีๆ ที่จะดึงดูดให้ประชากรในอาเซียนหันมาทำขายตรงในประเทศไทย
    จุดแข็ง 6 ข้อนี้เป็นการมองภาพรวมให้เห็นสิ่งดีๆที่มีในไทยและสามารถนำจุดแข็งเหล่านี้ไปต่อ
ยอดเพื่อขึ้นสู่การทำขายตรงระดับอาเซี่ยนได้
    แล้วคุณละหาจุดแข็งของตนเจอหรือยัง?

เป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวของ
โทนี่-ภาสกร ผุยพงษ์
   

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

นักขายตรงอาเซียนทั้งหลาย....จงอย่าปิดกั้นตนเอง

ภาพจาก  http://www.muslimthaipost.com
         "เมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียน มนุษย์ต้องเตรียมไว้ 3-4 อาชีพ ไม่มีใครเป็นนักบัญชี นักธุรกิจ หรือนักบริหารตลอดชีวิต การเตรียมคนเพื่อทำอาชีพเดียวจึงไม่เพียงพอ ไม่ทันต่อโลกาภิวัฒน์ที่ต้องเป็นมัลติทาสกิ้ง"
                -- สุรินทร์ พิศสุวรรณ -- เลขาธิการอาเซียน (อ้างอิงจาก  อเดย์บูราติน แชร์จาก facebook อีกทีครับ)

    ข้อความข้างต้น ผมอยากจะขีดเส้นใต้สัก สองเส้นเน้นหนาๆ ชอบมากครับ และเมื่อคิดทบทวนดูแล้ว มันเป็นไปตามนั้นจริงๆด้วย 
     มองย้อนกลับไปตั้งแต่ผมยังแบเบาะ เติบโตขึ้นมาผ่านการศึกษาตามระบบประเทศไทยแป๊ะๆ ไม่เคยมีคำถามอะไรมากมายนัก (ครูเขาไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ถามครับ) มุ่งร่ำเรียนตามสิ่งที่ใฝ่ฝันอย่างที่ครูแนะแนว แนะนำ ระบบความคิดแบบตามสูตร เราอยู่บนสานพานมนุษย์ โรงงานผลิตอะไรเราต้องเป็นไปแบบนั้น จนจบก็ได้ทำงานตรงสาย ผ่านไป 10 ปีมีคำถามใหม่มากมายเกิดขึ้นในหัว (ไม่รู้ทำไมว่าผ่านไป 10 ปียังมีคำถามกับชีวิตอยู่ตลอด) คำถามสำคัญที่น่าจะนำมาใช้ในบทความได้ดี คือ จำเป็นด้วยหรือที่เราต้องเลือกชีวิตเราแบบงงๆ แล้ว ทำไปก็เริ่มมีข้อสงสัย นักกว่านั้น คือ ทำไปก็ไม่มีความสุข เราจะยังดันทุรังทำไปจนตาย"  ด้วยคำถามนี้ละ ที่ทำให้ผมทุบกะลาตัวเองออกแล้วพาตัวไปประสบกับประสบการณ์ใหม่ๆได้

    สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจเข้าสู่วงการขายตรงหลังจากทุบกะลาตนเองออกมาแล้ว คือ เรื่องที่เราได้อยู่กับงานที่ต้องเรียนรู้ พัฒนาตนเองตลอด ได้สร้างระบบ วินัย ของตนเองได้แบบ 100% มองย้อนกลับไปเราเคยสร้างกำแพงแห่งความเคยชิน กำแพงแห่งการกลัวเกรงกับการเปลี่ยนแปลงกั้นขวางตัวเองจนคิดว่า เราไม่ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมแล้ว เราเรียนอะไรมา ต้องทำงานแบบนั้น แต่ไม่เคยถามตัวเองเลยว่า เราชอบมัน เราถนัดมัน เราทำแล้วมีความสุข จริงหรือเปล่า?

    จริงๆแล้ว คำว่า อาชีพโน่นนี้นั้น มันคือสิ่งสมมติที่มนุษย์สร้างขึ้นมา แต่มันไม่ใช่สิ่งที่จะมาปิดกั้นให้เราต้องเป็นไปอย่างนั้นไปจนตายหรอกครับ โชคดีขนาดไหนที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แต่เราชอบลืมกันว่า โชคดีไปกว่านั้น คือ เราคือมนุษย์ที่เลือกวิถีทางชีวิตตนเองได้

     อย่างอาชีพธุรกิจเครือข่ายขายตรง ก็ถือเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างให้เราต้องเก่งรอบด้าน ไม่ได้ปิดกั้นให้เราเก่งแค่ทางใดทางหนึ่ง หากอยากสำเร็จในวงการก็ต้องเสริมสร้างทักาะ ต่างๆ เช่น ภาวะผู้นำ ทักษะการตลาด ทักาะการขาย การสื่อสาร ทักษะการบริการ  การครองใจคน และทักาะอื่นๆอีกมากมาย  เหมือนกับเราต้องมีกันหลายๆอาชีพในตัวของเราจึงจะส่งเสริมความสำเร็จของตนได้

    จงอย่าปิดกั้นตนเอง เพียงแต่ว่าคนอื่นหรือความคิดเดิมๆทำให้เราเป็นอย่างนั้น แต่จงทุบกะลาตัวเองออกมา ให้โอกาสตัวเองได้เจอกับสิ่งใหม่ๆ เพื่อที่จะได้เจอกับสิ่งที่ใช่สำหรับคนจริงๆ แล้ววันน้นจะเป็นวันที่คุณตายตาหลับแน่นอน

ข้อคิดเห็นส่วนตัวของ
โทนี่  ภาสกร  ผุยพงษ์

www.richtimeteam.com
www.richtimeexpo.com

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

มุมมองที่แตกต่างกลายเป็นฟ้ากับเหวของนักขายตรงอาเซียน

       ได้มีโอกาสอ่านบทความดีๆ จากคนเขียนคอลัมน์ "Marketing Hub" ในนสพ.กรุงเทพธุรกิจ ตอนที่ว่าด้วยการแข่งขันด้านฝีมือแรงงานของคนไทยกับภาพกว้างระดับอาเวียน รายละเอียดผมไม่ขอพุดถึงแต่เรื่องโดนใจ คือ ในมุมของการมองระดับอาเซียน การทำการค้าขายหรือการทำขายตรงอาเซียน  เรามักมองในแง่ดีว่าจากที่เราเคยมีลูกค้า 60 ล้านคน(แค่ในกรอบเมืองไทย) ขยายไปเป็นกลุ่มลูกค้าถึง 600 ล้านคน บางคนยิ้มกับมุมนี้ครับ ยิ้มกันจนแก้มปริ แต่มีคำหนึ่งที่ผมต้องหยุดคิด คือ มองในแง่ของคู่แข่งครับ หมายความว่า หากเราไม่เตรียมพร้อม ลูกค้า 600 ล้านคน อาจกลับกลายเป็นคู่แข่ง 600 ล้านคนทันที่ น่าคิดครับ....
      ข้อความในย่อหน้าที่แล้วกระตุกเส้น ให้ผมต้องหันมากระตือรือร้น ว่าเราไม่มีเวลานั่งอยู่กับที่หรือคิดอะไรนานๆอีกแล้ว หากเราจะมองขายตรงไปสู่ระดับอาเซียน กระแสคลื่นแห่งAEC พัดมาอย่างไม่ปราณีปราศัย หากเราช้ากันอยู่จะไม่ทันการนะครับ และต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเรื่องของ บุคลากร อย่าง เวียดนาม กัมพูชา หรือประเทศใกล้เราสุดๆอย่างสปป.ลาว กระตือรือร้นในเรื่อง AEC มาก จนวันหนึ่งผมตกใจมากที่ได้ยินข่าวว่า ประชาชนสปป.ลาวรู้เรื่อง AEC มากกว่าเราอีกครับ
    เวลามีไม่มากนัก ผ่านเลยมาก็เลยผ่านไป มุมมองในเรื่องเดียวกันอาจผลิกไปแบบฟ้ากับเหว ลูกค้า 600 ล้านคนระดับขายตรงอาเซียน อาจกลายเป็นคู่แข่ง 600 คนแบบที่เราไม่รู้ตัว
    นักขายตรงอาเซียนทั้งหลายอย่ามัวรอแต่เวลา รอให้เวลากลืนกินเรา จงเตรียมตัวให้พร้อมรับคลื่นลูกใหญ่แห่งการเปลี่ยนแปลง ด้วยสติและปัญญาอันเปี่ยมล้น เพื่อความสำเร็จระดับขายตรงอาเซียน

  เขียนโดย
  ภาสกร  ผุยพงษ์