วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

หาจุดแข็งไปสู้แบบนักขายตรงระดับอาเซียน

     "ทุกคนมีดีในตัวที่แตกต่างกันไป หามันให้เจอและนำมันออกมาใช้ประโยชน์ รับรองว่าความสำเร็จเป็นเรื่องเล็ก"
      การเปิดตัวเองสู่ AEC นับว่าจะต้องใช้ฐานความรู้ที่มากพอในการเตรียมตัว เพราะด้วยความแตกต่างของวัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจ รวมถึงระบบการปกครองของประเทศใน AEC สิ่งสำคัญมากที่สุด คือ การหันกลับมามองตัวเอง ถามตัวเองว่า "ฉันพร้อมหรือยัง? ฉันรู้มากพอหรือยัง?ฉันเข้มแข็งพอหรือยังที่จะก้าวเข้าสู่ AEC?"
     กลับมามองแบบนักขายตรงอาเซียน มองมาที่ตัวเรา ให้ลึกไปถึงความถนัดที่ตนเองมีอยู่และมองไปยังจุดอ่อนที่เรายังต้องปรับปรุงเพื่อจะได้นำจุดแข็งไปต่อยอดและอุดช่องว่างที่เป็นจุดอ่อนของเรา เท่าที่ผมสังเกตผมมองว่าจุดแข็งของนักขายตรงไทยที่น่าสนใจมีหลายจุด ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดสู่การทำขายตรงระดับอาเซียนได้ เช่น
   - ยิ้มสยามยังเป็นเสน่ห์-ผมมองว่าสิ่งนี้เป็นต้นทุนทางความรู้สึกที่คนไทยทำได้ดี และรอยยิ้มสยามย่อมจะนำสู่การเปิดประตูสู่การทำธุรกิจขายตรงระดับอาเซี่ยนได้เป็นอย่างดี
   - คนไทยเป็นคนง่ายๆ ชอบประนีประนอม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศอาเซียนคู่ค้าสบายใจที่จะทำธุรกิจด้วยแบบสบายใจ
   - Hub แห่งอาเซี่ยน-ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ประเทศไทยเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อหรือ Hub ทางด้านธุรกิจ อย่างขายตรงระดับอาเซียนเช่นเดียวกัน ประเทศไทยสามารถที่จะยกระดับเป็น Hub แห่งขายตรงอาเซียนได้เช่นเดียวกัน
   - เครือข่ายแบบสังคมยังเหนี่ยวแน่น-ยอมรับอย่างหนึ่งว่าวัฒนธรรมไทยแบบพี่ป้า น้า อา ยังมีอิทธิพลและเป็นเครือข่ายแบบเหนี่ยวแน่น แพร่ออกไปทางวงกว้างซึ่งเป็นจุดแข็งหนึ่งที่จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านหันเข้ามาลงทุนหรือทำธรกิจขายตรงในประเทศไทย
  - ความมีน้ำใจแบบไทยๆ-ข้อนี้เป็นจุดแข็งหนึ่งที่ทำให้ประเทศในอาเซี่ยนอยากเข้ามาทำธุรกิจขายตรงกับคนไทย เพราะเชื่อมั่นว่าหากมีน้ำใจ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันแล้วจะทำให้ขายตรงอาเซี่ยนสำเร็จได้อย่างแน่นอน
 - ประเทศไทยมีนักขายตรงระดับมืออาชีพที่มีชื่อเสียงดีๆ ที่จะดึงดูดให้ประชากรในอาเซียนหันมาทำขายตรงในประเทศไทย
    จุดแข็ง 6 ข้อนี้เป็นการมองภาพรวมให้เห็นสิ่งดีๆที่มีในไทยและสามารถนำจุดแข็งเหล่านี้ไปต่อ
ยอดเพื่อขึ้นสู่การทำขายตรงระดับอาเซี่ยนได้
    แล้วคุณละหาจุดแข็งของตนเจอหรือยัง?

เป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวของ
โทนี่-ภาสกร ผุยพงษ์
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น